โรคฝีดาษลิง หรือโรคฝีดาษวานร (Monnkeypox Virus) เริ่มมีข่าวถึงการแพร่ระบาดมากขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก เป็นโรคที่ใกล้เคียงกับโรคอีสุกอีใส หรือไข้ทรพิษ แต่มีความรุนแรงน้อยกว่า ผู้ป่วยจะมีไข้ร่วมกับมีตุ่มผื่นตุ่มหนองทั่วตัว และต่อมน้ำเหลืองโต ยังไม่พบการติดเชื้อของโรคนี้ในประเทศไทย แต่ก็ถือเป็นกลุ่มโรคที่ต้องเฝ้าระวัง เพราะฉะนั้นผู้ที่กลับจากแอฟริกา หรือสัมผัสกับสัตว์ป่าต่างถิ่น หากมีอาการของโรคฝีดาษลิง หรือพบอาการผิดปกติควรปรึกษาแพทย์

โรคฝีดาษลิง พบป่วยเพิ่ม สธ.เชียงใหม่ เตือนกลุ่มชายรักชายเฝ้าระวัง

สธ.เชียงใหม่ เผย เชียงใหม่ยังไม่พบผู้ป่วยโรคฝีดาษลิง ขณะที่ตัวเลขผู้ป่วยระดับประเทศเพิ่มสูงขึ้น 2.3 เท่า จึงขอเตือนกลุ่มเสี่ยง “ชายรักชาย” ให้เฝ้าระวังและป้องกันตนเอง

เมื่อวันที่ 11 ก.ค. 66 ที่ ห้องประชุม 4 ชั้น 4 อาคารอำนวยการ ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ ดร.ทรงยศ คำชัย หัวหน้ากลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยในการแถลงข่าวประจำสัปดาห์ ถึงสถานการณ์โรคฝีดาษลิงหรือโรคฝีดาษวานร หรือ “MPOX” ในประเทศไทย ว่าในเดือนมิถุนายน 2566 มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 48 ราย หรือ 2.3 เท่า ทำให้มีผู้ป่วยสะสมรวม 98 ราย โดยพบมากในกลุ่มชายมีเพศสัมพันธ์กับชายในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ที่มีพฤติกรรมเกี่ยวกับการซื้อ-ขาย บริการทางเพศ และกิจกรรมเฉพาะสำหรับคนกลุ่มนี้ โดยอาการแรกเริ่ม คือ จะมีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส จนถึงมีตุ่มพุพอง ซึ่งการระบาดในรอบนี้ตุ่มจะขึ้นบริเวณรอบอวัยวะเพศและทวารหนัก

เชียงใหม่ยังไม่พบการระบาด

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของจังหวัดเชียงใหม่ ยังไม่พบการระบาดขอโรคฝีดาษลิง และได้มีการเฝ้าระวังอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะในกลุ่มนักเที่ยว ตามสถานบันเทิงชายรักชาย โดยดำเนินการเฝ้าระวังในกลุ่มผู้ใช้บริการ ให้ความรู้เกี่ยวกับโรค การป้องกันตนเอง รวมถึงการคัดกรองก่อนเข้ารับบริการ เช่น การตรวจวัดอุณหภูมิ และการตรวจรอยโรคที่ผิวหนัง

โรคฝีดาษลิง คืออะไร

โรคฝีดาษลิง หรือ โรคฝีดาษวานร (Monnkeypox Virus) เป็นโรคที่พบการระบาดครั้งแรกเมื่อ 60 ปีก่อน มีถิ่นกำเนิดในประเทศคองโก โดยพบการติดเชื้อของสัตว์ตระกูลลิงในห้องแล็ป นอกจากนี้ยังสามารถแพร่กระจายเชื้อได้ในสัตว์ตระกูลฟันแทะ อย่าง หนู กระรอก กระต่าย เป็นโรคตระกูลเดียวกับฝีดาษที่เกิดขึ้นในคน หรือไข้ทรพิษ เป็นโรคที่ใกล้เคียงกับโรคอีสุกอีใสแต่มีความรุนแรงน้อยกว่า ผู้ป่วยจะมีไข้ ร่วมกับมีตุ่มผื่นตุ่มหนองทั่วตัว และต่อมน้ำเหลืองโต อย่างไรก็ดีขณะนี้ (เดือนพฤษภาคม 2565) ยังไม่พบการติดเชื้อของโรคฝีดาษลิงในประเทศไทย แต่ก็ถือเป็นกลุ่มโรคที่ต้องเฝ้าระวัง เพราะฉะนั้นผู้ที่กลับจากแอฟริกา หรือสัมผัสกับสัตว์ป่าต่างถิ่น หากมีอาการดังกล่าว หรือพบอาการผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์

โรคฝีดาษลิง แบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์ คือ

  1. สายพันธุ์แอฟริกากลาง มีความรุนแรงมาก อาจถึงขั้นเสียชีวิต
  2. สายพันธุ์แอฟริกาตะวันตก มีความรุนแรงน้อยกว่าสายพันธุ์แอฟริกากลางมาก ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่กำลังระบาดอยู่ ณ ขณะนี้

โรคฝีดาษลิง

การติดต่อและระยะฟักตัว

โรคฝีดาษลิงหรือโรคฝีดาษวานร สามารถแพร่กระจายได้ง่าย แบ่งออกเป็น

1. การติดต่อจากสัตว์สู่คน

  • สัมผัสโดยตรงกับสารคัดหลั่ง หรือตุ่มหนองของสัตว์ติดเชื้อ
  • ถูกสัตว์ที่มีเชื้อกัด หรือข่วน
  • กินเนื้อสัตว์ที่มีเชื้อ และปรุงสุกไม่เพียงพอ

2. การติดต่อจากคนสู่คน

  • สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยทางสารคัดหลั่ง จากผิวหนังที่เป็นตุ่ม หรือละอองฝอยจากการหายใจ
  • มีอาการป่วยประมาณ 2-4 สัปดาห์
  • ผู้ป่วยส่วนใหญ่หายจากโรคเองได้ อาการรุนแรงมักพบในเด็ก ขึ้นกับปริมาณไวรัสที่ได้รับ

ระยะฟักตัวและอาการของโรคฝีดาษลิง

ระยะเวลาฟักตัว (ช่วงเวลาตั้งแต่ติดเชื้อจนถึงเริ่มแสดงอาการ) ของโรคฝีดาษลิงมีตั้งแต่ 7-21 วัน โดยอาการจะแบ่งออกเป็น 2 ระยะ

  • ระยะก่อนออกผื่น ประมาณ 0-5 วัน มีไข้, ปวดศีรษะมาก, ต่อมน้ำเหลืองโต, ปวดหลัง, ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และอ่อนเพลียมาก  ภาวะต่อมน้ำเหลืองโตเป็นลักษณะเด่นของโรคฝีดาษลิง เปรียบเทียบกับโรคอื่นที่อาจแสดงอาการแรกเริ่มคล้ายกัน (อีสุกอีใส หัด และฝีดาษ)
  • ระยะออกผื่น  ปกติเริ่มภายใน 1-3 วันหลังจากเริ่มมีไข้  ตุ่มผื่นมักขึ้นหนาแน่นบนใบหน้าและแขนขามากกว่าลำตัว โดยผื่นจะมีขนาด 2-10 มิลลิเมตร ในช่วง 2-4 สัปดาห์ต่อมา สามารถเกิดตุ่มผื่นได้ทั้ง ใบหน้า ,ฝ่ามือฝ่าเท้า,เยื่อบุช่องปาก ,อวัยวะเพศ,เยื่อบุตา และกระจกตาก็ได้รับผลกระทบด้วย

โดยผื่นเริ่มจากผื่นแดง จากนั้นค่อยๆ เป็นเป็น ผื่นนูน (เป็นตุ่มแข็งนูนเล็กน้อย) กลายเป็นถุงน้ำ (มีของเหลวใสบรรจุอยู่ภายใน) เกิดตุ่มหนอง (มีของเหลวสีเหลืองบรรจุอยู่ภายใน) และเป็นฝี จนตุ่มหนองแตกและแห้งเป็นสะเก็ด ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการดีขึ้น และหมดระยะในการแพร่กระจายเชื้อให้ผู้อื่น

ลักษณะเข้าข่ายติดเชื้อโรคฝีดาษลิง

1. ไข้ (อุณหภูมิร่างกายตั้งแต่ 38 องศาเซลเซียส) หรือ ให้ประวัติมีไข้ร่วมกับอาการอย่างน้อย 1 อย่างต่อไปนี้ ได้แก่ เจ็บคอ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดหลัง ต่อมน้ำเหลืองบวมโต

2. มีผื่นหรือตุ่มที่ผิวหนัง หรือเคยมีผื่นหรือตุ่มกระจายตามใบหน้า ศีรษะ ลําตัว อวัยวะเพศและรอบทวารหนัก แขน ขา หรือฝ่ามือฝ่าเท้า เป็นผื่นหรือตุ่มลักษณะเป็นตุ่มนูน ตุ่มน้ำใส ตุ่มหนอง หรือตุ่มตกสะเก็ด โดยเป็นผื่นระยะเดียวกันพร้อมกันทั้งตัว หรือ เป็นผื่นที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาปกติ

รวมถึง การมีประวัติเชื่อมโยงทางระบาดวิทยา ภายในเวลา 21 วันที่ผ่านมา 1 ข้อดังต่อไปนี้

  • มีประวัติการสัมผัสที่ทําให้แพทย์วินิจฉัยสงสัยโรคฝีดาษลิง
  • มีประวัติเดินทางจากต่างประเทศ / เข้าร่วมงานหรือกิจกรรมที่เคยมีการรายงานผู้ป่วยโรคฝีดาษลิง หรือมีอาชีพที่ต้องสัมผัสคลุกคลีกับผู้เดินทางจากต่างประเทศ
  • มีประวัติสัมผัสสัตว์ฟันแทะ หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กที่นําเข้ามาจากถิ่นระบาด เช่น ทวีปแอฟริกา

การรักษาและการป้องกันโรคฝีดาษลิง

ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาโรคฝีดาษลิงแบบจำเพาะ แต่จะเป็นการรักษาเพื่อบรรเทาอาการ และควบคุมการเกิดภาวะแทรกซ้อน อัตราการเสียชีวิตของโรคนี้อยู่ที่ 1-10% ซึ่งต่ำกว่าไข้ทรพิษมาก สำหรับผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่เป็นโรคฝีดาษลิง หรือโรคฝีดาษวานร ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค หรือ CDC แนะนำให้ฉีดวัคซีนภายใน 4 วันหลังสัมผัสเพื่อป้องกันการติดโรค และฉีดวัคซีนภายใน 14 วันเพื่อลดความรุนแรงของโรค

ปัจจุบันมีการผลิตวัคซีนเฉพาะสำหรับโรคฝีดาษลิง ชื่อว่า วัคซีน Ankara ซึ่งมีผลข้างเคียงน้อยกว่าการให้วัคซีนโรคไข้ทรพิษ

การป้องกันโรคฝีดาษลิง

  • หลีกเลี่ยงสัมผัสเลือด สารคัดหลั่ง หรือตุ่มหนองของสัตว์
  • กินเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุก
  • ล้างมือบ่อยๆ
  • ไม่นำสัตว์ป่ามาเลี้ยง
  • เฝ้าระวังอาการ 21 วันหลังกลับจากประเทศเขตติดโรค

 

ข่าวทั่วไปอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ที่มาของบทความ

 

ติดตามอ่านข่าวทั่วไปได้ที่  svetimartin-zupa.com

สนับสนุนโดย  ufabet369